เป้าหมายหลัก

วันพุธที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ความเข้าใจจิตศึกษา

ความเข้าใจวิถีและจิตศึกษา



            ได้เรียนรู้เพิ่มเติมการจัดการจัดกิจกรรมหน้าเสาธง  คือการเล่านิทานสั้น ๆก่อนที่นักเรียนจะเข้าห้องเรียนและรอรับเด็กนักเรียนตรวจดูแลความพร้อมของแต่ชั้นอีกครั้งหนึ่ง
   
การทำจิตศึกษาชั้น ป.6



             นักเรียนมาพร้อมนั่งกัน  เป็นวงกลมที่สวยงาม  คนไหนที่ชิดติดกันขอให้ขยับ  นั่งได้สบาย      คูณครูนับพร้อมทำท่าทางประกอบจังหวะที่ละ  2  แล้วค่อยประกอบจังหวะเพิิ่มทีละ2  ที่ซับซ้อนมาขึ้น
นักเรียนทำตามจนครบ  16  ท่า  คุณครู  นักเรียนทำพร้อมกัน  ตามเสียงเพลงของครู
             การผ่อนคลาย  เริ่มจากการผ่อนคลายจากศีรษะ  และส่วนต่าง ๆ  จนถึงเท้าที่เราใช้งาน โดยการนวด  บีบ  เคาะ  เหยียด  ทำที่ละท่าทั้งซ้ายและขวา   ให้ผ่อนคลาย

             คุณครูมีภาพ  2  แผ่นให้นักเรียนดู
           

              .ครูมีภาพ  2  ภาพให้นักเรียนดู  ส่งไปทางซ้ายมือและขวามือของครูอย่างละภาพ  ให้นักเรียนดู
ดูแล้วให้อยู่กับตัวเอง  ใคร่ครวญ  ตรึกตรอง  แล้วส่งให้เพื่อนไปเรื่อย ๆ จนภาพไปอยู่ที่คุณครู  ครูตั้งคำถาม
                1.ขณะรับภาพไป  นักเรียนเห็นอะไร  และมีความรู้สึกย่างไร
                       -เห็นคนแก่เก็บของอยู่ใกล้เสาไฟฟ้า  มีความรู้สึกว่าคนแก่มีอายุมากแล้ว  ควรอยู่ที่บ้าน
                       -เห็นภาพน้ำท่วม  เกิดวิกฤติร้าย  มีความรู้สึกน่าสงสารมาก  ต้องสามัคคีกัน  ทุกคนต้องอาศัยความร่วมมือ
                 2.เกิดคำถามอะไรกับภาพที่เห็น
                       -ทุกคนเจอน้ำท่วม  แต่ก็ยังมีเวลามาช่วยกัน
                       -เราไม่ได้ทิ้งเลย  ทำไมต้องเก็บ
                       -ทำไมคนแก่ต้องมาเก็บ
                       -ทำลูกหลานไม่ดูแล
                       -ทำไมคุณยายไม่พักผ่อน
                       -คุณยายเก็บขยะไปขายหรือเก็บเฉย ๆ
                       -ทำไมน้ำท่วม เขาจึงขนย้ายของหนี
                       -ทำไมเขาไม่ทิ้งยะลงถัง
                       -น้ำท่วมตรงไหน
                   3.ทั้งคำถามของเราเองและของเพื่อน ๆ  ใครสามารถตอบคำถาม


             

หลังจากที่  Body  Scan   เสร็จ  ให้นักเรียนทบทวนกิจกรรมที่ครั้งที่แล้ว
               สิ่งที่รู้แล้ว ที่นักเรียนทำเป็นกิจกรรมเดี่ยว  ขอความคิดนักเรียนเป็นกลุ่ม  คุณครูจะแบ่งนักเรียนให้เป้นกลุ่ม  มีบางคนที่ไม่ยอมเข้ากลุ่มตามที่คุณครูแบ่ง  ให้เข้าตามที่ตนเองสมัครใจ  ส่วนคนที่ไม่มีกลุ่มหรือไม่เข้ากลุ่มกับเพื่อน  คูณครูจะเรียกมาล้อมวงทำกิจกรรมกับคุณครู  
               การจัดกลุ่มใช้วิธีการนับ  1  2  3  แล้วมาอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม แต่ละคนหางานตนเองที่่ทำไว้ครั้งที่แล้ว    "สิ่งที่รู้แล้ว"  นำมาพิจารณาร่วมกัน เหมือนกันเอามาหนึ่ง  ไม่เหมือนกันเอาทั้งหมด
              แบ่งกระดาษ A3  เป็น  2  ส่วน เขียน  สิ่งที่รู้แล้ว /สิ่งที่อยากรู้   แล้วตกลงกันทำงานให้เสร็จ  เมื่อเข็มยาวที่เลข  9  ในขณะที่นักเรียนทำงานคุณครูจะพูดให้กำลังใจเสมอ  ๆ



 ครูใหญ่
                          หัวใจจิตศีกษา  คือ  การมีสติ    การรู้ตัว
                                                           สมาธิ     จดจ่อสิ่งที่ทำ
                           การรู้ตัวของเด็กจะค่อนข้างยากมาก  
              เพลงมี  2  แบบ
                           -แบบกระตุ้นสมอง   ใช้ตอนทำกิจกรรม
                           -แบบพัฒนาสมอง   ใช้ทำ  Body  Scan
              เสียง แสง  มีผลต่อคลื่นสมอง  คลื่นต่ำจะเป็นการกรุณา  คลื่นสูง  คนจะปิดการเรียนรู้
              เด็กพิเศษ  จะต้องได้รับความร่วมมือจากครู  ผู้ปกครอง  เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ 
              คำถามแต่ละคำถาม  ต้องสร้างความเข้าใจ เพราะประโยชน์สูงสุด  คือเด็ก   หน้าที่หลัก  ต้องสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน
              การสอนไม่มีอะไรท่ดีที่สุด  แต่มีสิ่งที่ดีกว่าเสมอ

 การทำกิจกรรม
              การทำกิจกรรม  ผ่านการใคร่ครวญการเรียนรู้ร่วมกัน   ใครคิดอย่างไร  ช่วยกันคิด  คนแรกจะพูดไม่ถูก  ไม่มีทิศทาง  คนต่อไปจะเริ่มเข้าใจและมีเป้าหมายมากขึ้น  เกิดพล้งการเรียนรู้  การเรียนรู้ค่อย ๆ  ใคร่ครวญ  จะเกิดความเข้าใจลึกซึ้ง  เกิดพลัง
             การฝึกให้คนพูด  ใช้วิธีการอ่านหนังสือให้ฟัง  เล่าใหฟัง   คิดอย่างไร  คนอื่นอ่นแล้วมีความคิดต่างอย่างไร     
         
เครื่องมือที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในการเปลี่ยนแปลง  คือ  PLC  

              การทำกิจกรรม  PLC  ประกอบด้วย
                           -สถานที่    สถานที่มีบรรยากาศดี  ร่มรื่นน่าอยู่  มีวิถี  สัมพันธภาพด้านบวก
                           -กิจกรรม    
                                            -มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้ง  BAR ,AAR  เพื่อสร้างให้ครูมีความเข้าใจร่วมกันกับความรู้  เข้าใจร่วมกันในการจัดการ  มีอุดมการณ์
                                            -การถอดบทเรียน
                                            -หน่วยการเรียน (Lesson  Study)
             ระดับของการสนทนา
                             -การถกเถียง  เป็นการเรียนรู้ที่ต่ำที่สุด  ขณะที่หยุดพูด  จะหาวิธีการที่จะเอาชนะเสมอ
              การประชุมเริ่มต้นด้วยความปิติ  แชร์ร่วมกัน  ไม่ควรเริ่มที่ปัญหา  และปัญหาต่าง ๆ  ได้รับความร่วมมือ  แก้ไข  ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน
                             -การแจ้งให้ทราบ ส่วนมากไม่ค่อยได้แสดงความคิดเห็น  ไม่เกิดปัญญาร่วม
                             -สุนทรียสนทนา   การพูดการฟังที่ไม่ตัดสินใจ
              การเรียนรู้จุดแข็งของแต่ละคน  เมื่อมาร่วมกันจะทำให้มีจุดแข็ง  มีพลังมากขึ้น   
              การฝึกสติ  ฟังแล้ว   คิดแย้ง  คล้อยตาม   ถ้าสติจับสิ่งนั้นแล้ว  จะหายไป


                           





                      

             

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น